กลูตาไธโอน มีประโยชน์อะไรบ้าง
กลูตาไธโอน ปัจจุบัน ค่านิยมผิวขาวกำลังเป็นที่นิยมอยู่มาก จึงทำให้กลูตาไธโอนกำลังเป็นที่นิยมอย่างมากเพราะการมีผิวที่ขาว กระจ่างใส ดีเป็นสิ่งที่เสริมสร้างความมั่นใจให้กับบุคคลทุกเพศทุกวัยจึงทำให้ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์ต่างที่เสริมสร้างผิวขาวออกสู่ท้องตลาดเป็นจำนวนมาก เพื่อตอบโจทย์ความต้องการดังกล่าว1
กลูตาไธโอน คือ สารต้านอนุมูลอิสระ ที่ถูกสร้างและใช้มากที่สุดในร่างกาย เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยปกป้องสายตาของคนเรา ช่วยเปลี่ยนแป้งที่สะสมในร่างกายให้เป็นพลังงาน และป้องกันการสะสมของไขมันซึ่งอาจนำไปสู่การเป็นโรคหัวใจ
กลูตาไธโอน ทำหน้าที่ปกป้องทุกเซลล์ของร่างกาย แต่เมื่ออายุมากขึ้น ปริมาณกลูตาไธโอน ในร่างกายจะลดน้อยลง หรือถูกผลิตขึ้นช้าลงและมีปริมาณน้อยลง คนเราเมื่อย่างเข้าอายุ 20 ปี ปริมาณกลูตาไธโอนในร่างกายจะลดลงเฉลี่ย 8-12% ต่อ 10 ปี แต่หากร่างกายมีการบริโภคยาหรือเคมีมากเกินไป ปริมาณการลดลงของกลูตาไธโอนในร่างกายจะรวดเร็วกว่าที่คาดไว้ ทำให้ร่างกายเสื่อมโทรมเร็วก่อนวัย และโรคต่างๆเข้าแทรกแซงได้ง่าย3
กลูตาไธโอน เป็นโปรตีนที่ประกอบด้วยกรดอมิโนที่สำคัญ 3 ชนิด รวมกันอยู่คือ ซิสเตอิน(Cystein) ไกลซิน(Glycine) และ กลูตาเมท (Glutamate) ที่ร่างกายสามารถสังเคราะห์ได้เองทำหน้าที่ปกป้อง เนื้อเยื่ออวัยวะต่างๆในร่างกาย
คุณสมบัติของกลูตาไธโอน
- Antioxidation กลูต้าไธโอนจะเปลี่ยนเป็นเอมไซม์ glutathione peroxidase เป็นสารที่มี antioxidant ที่สามารถช่วยความเสื่อมของเซลล์ต่างๆในร่างกาย
- Detoxification กลูตาไธโอนช่วยสร้างเอมไซน์ชนิดต่างๆ โดยเฉพาะ glutathiones-transferse ที่ตับ ช่วยในการกำจัดสารพิษออกจากร่างกาย
- Immune Enhancer กลูตาไธโอนจะส่งผลให้เพิ่มความสามารถในการกำจัดสิ่งแปลกปลอมและเชื้อโรคของเม็ดเลือดขาวชนิด neutrophilis และยังเพิ่มความสามารถในการทำงานของระบบคุ้มกันร่างกายด้วย ทำให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันมากขึ้นและกระตุ้นการการทำงานของเอนไซม์หลายชนิดเพื่อให้ร่างกายต่อต้านสิ่งแปลกปลอม รวมถึงซ่อมแซม DNA สร้างโปรตีน และ prostaglandin2
กลูตาไธโอนกับกลไกการเกิดสีผิว
กระจายตัวอยู่ในชั้นผิวเม็ดสีที่อยู่ในผิวหนัง ทำหน้าป้องผิวหนังจาก UV จากแสงอาทิตย์โดยการดูดกลืนรังสีUV แล้ว เปลี่ยนพลังงานให้เป็นความร้อน เมลานินถูกผลิตขึ้น จากกรดอะมิโนที่ชื่อไทโรซีน (Tyrosine) โดยทั่วไป มี2 ชนิด คือ ยูเมลานิน (Eumelanin) และ ฟีโอเมลานิน (Pheomelanin) โดยปริมาณเม็ดสีที่กระจายตัวอยู่ในผิวหนัง จะมีมากหรือน้อยเป็นลักษณะทางพันธุกรรม โดยที่ ยูเมลานิน พบมากในคนผิวเข้ม ซึ่งส่วนใหญ่อาศัยอยู่ บริเวณเส้นศูนย์สูตรซึ่งมีความเข้มของรังสีUV มาก ในขณะที่ฟีโอเมลานิน พบในคนผิวขาว ซึ่งได้รับ ปริมาณรังสีUV น้อยกว่าสารกลูตาไธโอนที่เข้าสู่ร่างกาย จะทำหน้าที่ กระตุ้นให้กรดอะมิโน tyrosine เปลี่ยนรูปเป็น ฟีโอเมลานินในปริมาณที่มากขึ้น หรืออาจกล่าว อีกในหนึ่งว่าสารกลูตาไธโอนจะเปลี่ยนเม็ดสียูเมลานิน ให้กลายเป็นฟีโนเมลานิน ซึ่งส่งผลให้ผู้ที่ได้รับสาร ดังกล่าวมีสีผิวที่ขาวขึ้น2
เอกสารอ้างอิง
- คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. กลูตาไธโอน (Glutathione) ทำให้ขาวจริงหรือ?. เอกสารจากเว็บไซด์www.pharmacy.mahidol.ac.th
- วารสาร สารตำรายา ปีที่ 19 ฉบับที่ 1 มกราคม – เมษายน 2555.
- ภญ.รศ.ดร.ชุติมาลิ้มมัทวาภิรัติ์ และ ภญ.รศ.ดร.สนทยาลิ้มมัทวาภิรัติ์. ประโยชน์ทางการแพทย์ของกลูตาไทโอนและสารที่กระตุ้นการสร้างกลูตาไทโอน. วารสาร ไกรสัชยนิพรธ์ปีที่ 6 เดือนมกราคม – ธันวาคม 2554.