- สารสกัดจากใบแปะก๊วย ผสมวิตามินรวม (Biloba extract plus vitamin)
- วิตามินบีคอมเพล็กซ์ (Vitamin B Complex)
- แมกนีเซียม (Magnesium)
บทความอ้างอิง
1.แปะก๊วยและคุณประโยชน์ทางการแพทย์ จาก pobpad.com
ปวดศีรษะไมเกรน มีการศึกษาขั้นต้นเกี่ยวกับการใช้สารกิงโกไลด์ ชนิดบี (Ginkgolide B) ซึ่งเป็นสารสกัดจากใบแปะก๊วยชนิดหนึ่งในการป้องกันอาการปวดศีรษะไมเกรน โดยหยุดยาก่อนการทดลองเป็นเวลา 2 เดือน และรับประทานยาที่มีส่วนผสมของสารสกัดจากใบแปะก๊วยนี้ขนาด 60 มิลลิกรัม โคเอนไซม์คิวเท็นขนาด 11 มิลลิกรัม และวิตามินบี 12 ขนาด 8.7 มิลลิกรัม 2 ครั้งต่อวัน เป็นเวลา 4 เดือน และให้ผู้ป่วยจดบันทึกรายงานเกี่ยวกับอาการทางระบบประสาท ระยะเวลาและความถี่ของอาการ พบว่าสารกิงโกไลด์ ชนิดบีมีประสิทธิภาพในการลดความถี่และระยะเวลาของอาการปวดศีรษะไมเกรน โดยที่ผลการทดลองปรากฏชัดในช่วงแรกและเพิ่มขึ้นในช่วงที่ 2 ของการรักษา แต่เนื่องจากหลักฐานสนับสนุนคุณสมบัติของแปะก๊วยต่ออาการปวดศีรษะไมเกรนยังไม่เพียงพอ จึงจำเป็นต้องทำการศึกษาต่อไป
จากบทความ แปะก๊วยและคุณประโยชน์ทางการแพทย์ – พบแพทย์ (pobpad.com)
2.กินไว้! ก่อนหัวระเบิดเพราะไมเกรน บทความจาก posttoday.com
ไมเกรนรุนแรงกว่าที่คิด ข่าวมีให้เห็นไม่เว้นแต่ละวัน ไหนจะอุทาหรณ์จากการซื้อยากินเอง ข่าวเรียกคืนยาไมเกรนที่ปนเปื้อนแบคทีเรีย คุ้มมั้ย? ที่ต้องเอาชีวิตตัวเองมาเสี่ยงกับการกินยาไปตลอด ลองเปลี่ยนวิถีการกิน มาเลือกกินสิ่งที่ดีมีประโยชน์เพื่อช่วยลดอาการไมเกรนที่แสนทรมานกันดีกว่า
แมกนีเซียมที่จำเป็น มีการวิจัยพบว่าผู้ที่เป็นไมเกรนมักมีระดับแมกนีเซียมต่ำ ซึ่งอาจทำให้สมองมีความไวเป็นพิเศษต่อการเกิดไมเกรน การเสริมแมกนีเซียมจึงช่วยป้องกันไมเกรนได้ อาหารที่มีแมกนีเซียมสูงอย่างในผักใบเขียวเข้ม เช่น ผักเคล เคลไดโนเสาร์ ผักโขม ปวยเล้ง บรอกโคลี และยังมีในอัลมอนด์ เมล็ดฟักทอง งา ควินัว อะโวคาโด ตลอดจนปลาทูและปลาทูน่า
วิตามินบีก็ขาดไม่ได้ โดยเฉพาะวิตามินบี 6 และบี 2 ที่มีส่วนช่วยบรรเทาอาการปวดหัวได้ โดยเฉพาะผู้หญิงที่มักเป็นไมเกรนจากการเเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในช่วงมีประจำเดือน ควรกินอาหารที่มีวิตามินบีเป็นประจำจะช่วยลดอาการไมเกรนลง 50% ซึ่งพบมากในธัญพืช ข้าวซ้อมมือ ข้าวกล้อง ไข่ ตับ ปลา แคนตาลูป มันฝรั่ง
จากบทความ กินไว้! ก่อนหัวระเบิดเพราะไมเกรน – โพสต์ทูเดย์ สุขภาพ (posttoday.com)
3.ไมเกรน กับ แมกนีเซียม บทความจาก คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
จากปัญหาอาการข้างเคียง การมีโอกาสใช้ยาเกินขนาด และ การมีโอกาสยาตีกัน ในผู้ที่ใช้ยาบรรเทาอาการปวดศีรษะไมเกรน ดังกล่าว ทำให้ปัจจุบันมีการใช้ยาหรือผลิตภัณฑ์สุขภาพต่างๆ เพื่อป้องกันไมเกรนเพื่อลดความถี่ของการปวดศีรษะซึ่งจะช่วยลดปริมาณการใช้ยารักษาอาการปวดแบบเฉียบพลันได้ และหนึ่งในผลิตภัณฑ์ที่มีการพูดถึงบ่อยๆ คือ ผลิตภัณฑ์เสริมแมกนีเซียม
แมกนีเซียมเป็นแร่ธาตุชนิดหนึ่งที่พบมากภายในเซลล์ของร่างกาย มีบทบาทสำคัญในกระบวนการสังเคราะห์สารชีวเคมีชนิด adenosine triphosphate (ATP) ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานของร่างกาย การทำงานของกล้ามเนื้อ ความคงสภาพของเยื่อหุ้มเซลล์ รวมถึงส่งผลต่อกระบวนการส่งสัญญาณประสาทหรือการหลั่งสารสื่อประสาทต่างๆ ด้วย ทั้งนี้มีงานวิจัยหลายฉบับที่แสดงให้เห็นผลในหลอดทดลองหรือสัตว์ทดลองว่าแมกนีเซียมอาจส่งผลยับยั้งกระบวนการในการเกิดอาการปวดศีรษะไมเกรนได้ ทำให้มีความพยายามในการนำแมกนีเซียมมาทดลองใช้ในคนเพื่อป้องกันการเกิดอาการปวดศีรษะไมเกรน ซึ่งข้อมูลจากงานวิจัยในมนุษย์บางฉบับพบว่าการใช้แมกนีเซียมช่วยลดจำนวนวันหรือจำนวนครั้งของการปวดศีรษะไมเกรนต่อเดือนลงได้ร้อยละ 22-43 ซึ่งมากกว่ายาหลอกอย่างมีนัยสำคัญ แต่งานวิจัยบางฉบับกลับไม่พบความแตกต่างระหว่างการได้รับแมกนีเซียมและยาหลอก โดยขนาดยาของแมกนีเซียมที่ใช้ในการศึกษาเหล่านี้อยู่ในช่วง 300 – 600 มิลลิกรัมต่อวัน และบางงานวิจัยเป็นการทดลองใช้แมกนีเซียมร่วมกับ co-enzyme Q10 และแร่ธาตุอื่นๆ ด้วย อย่างไรก็ตาม อาการข้างเคียงสำคัญที่พบจากการศึกษาเหล่านี้ คือ ท้องเสีย ซึ่งพบได้ร้อยละ 5-45.7 ของผู้ที่เข้าร่วมการศึกษา
บทความจาก ไมเกรน กับ แมกนีเซียม | โดยคณะเภสัชฯ ม.มหิดล (mahidol.ac.th)