ประกอบด้วย
บทความอ้างอิง
1.Whey vs Soy: โปรตีนจากพืชแย่กว่าโปรตีนจากสัตว์ จริงหรือไม่? .. จาก planforfit.com
เราควรที่จะกินโปรตีนจากแหล่ง “โปรตีนสมบูรณ์” เป็นหลัก เพราะโปรตีนสมบูรณ์นั้นคือแหล่งอาหารที่ให้กรดอะมิโน (หน่วยย่อยของโปรตีน) ที่จำเป็นครบถ้วนทุกชนิด ซึ่งเจ้ากรดอะมิโนจำเป็นนี่แหละที่ร่างกายเราต้องการเนื่องจากว่าเราไม่สามารถผลิตขึ้นมาเองได้ จึงจำเป็นต้องรับมาจากอาหารเท่านั้น ซึ่งแหล่ง โปรตีนที่สมบูรณ์ นั้นก็จะเป็นพวก
• โปรตีนจากสัตว์ เช่น เนื้อ นม ไข่ แต่ไม่นับพวกหนังของมัน
• โปรตีนจากพืชบางชนิด เช่น ถั่วเหลือง นอกนั้นมักจะไม่จัดเป็นแหล่งโปรตีนที่สมบูรณ์ในตัวมันเอง
ถึงแม้ว่า โปรตีนถั่วเหลือง นั้นจะถูกจัดเป็นแหล่งโปรตีนที่สมบูรณ์ก็ตาม ก็ยังมีหลายคนยังไม่แน่ใจว่าจะทดแทนได้จริงหรือไม่ ในบทความนี้จะยกข้อมูลจากงานวิจัยที่ได้ลองเปรียบเทียบโปรตีนจาก Whey กับ โปรตีนจากถั่วเหลือง (Soy protein) ในแง่มุมของการรักษามวลกล้ามเนื้อระหว่างช่วง hypocaloric หรือที่เรียกว่าการ ไดเอท เพื่อลดน้ำหนักและไขมัน
การศึกษาครั้งนี้ก็พยายามหาอาสาสมัครที่มีคุณสมบัติคล้ายๆ กันมา แล้วแบ่งเป็น 3 กลุ่ม
• กลุ่ม Whey คือกลุ่มที่ได้รับโปรตีนเพิ่ม 27 g จาก เวย์โปรตีน
• กลุ่ม Soy คือกลุ่มที่ได้รับโปรตีนเพิ่ม 27 g จาก โปรตีนถั่วเหลือง
• กลุ่มควบคุม กลุ่มนี้จะได้คาร์โบไฮเดรต 27 g แทน (ไม่ได้โปรตีนเพิ่ม)
ทุกกลุ่มนั้นทุกกำหนดสารอาหารให้เท่ากันทุกกลุ่ม ดังนั้นแคลอรี่โดยรวมนั้นเท่าๆ กัน
พบว่าโปรตีนถั่วเหลือง สามารถรักษามวลกล้ามเนื้อได้ดีพอๆ กับ เวย์โปรตีน
ถึงแม้ตัวเลขจะดูต่างกันก็จริง แต่เมื่อทำการวิเคราะห์ทางสถิติการวิจัยแล้วถือว่าไม่ต่างกัน ตรงนี้ทำให้เห็นแบบอ้อมๆ ได้ว่าโปรตีนจากถั่วเหลืองนั้นก็ส่งผลต่อการรักษามวลกล้ามเนื้อไม่ต่างจากโปรตีนที่มาจากผลิตภัณฑ์ของสัตว์อย่าง เวย์โปรตีนเลย
จากบทความ Whey vs Soy: โปรตีนจากพืชแย่กว่าโปรตีนจากสัตว์ จริงหรือไม่? – planforfit
2.ถั่วขาว ช่วยลดน้ำหนักได้จริงหรือ ? จาก pobpad.com
ถั่วขาว เป็นพืชในตระกูลถั่วชนิดหนึ่งที่อุดมไปด้วยสารอาหารหลากชนิด เช่น โปรตีน ไฟเบอร์ รวมถึงวิตามินและเกลือแร่ต่าง ๆ ที่ล้วนเป็นประโยชน์ต่อร่างกาย หลายคนจึงเชื่อว่าการรับประทานถั่วขาวสามารถช่วยลดน้ำหนัก และลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ ซึ่งดีต่อสุขภาพร่างกาย โดยเฉพาะผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก
ถั่วขาวกับการลดน้ำหนัก
การมีน้ำหนักตัวเกินอาจเป็นปัจจัยเสี่ยงที่นำไปสู่ปัญหาสุขภาพอื่น ๆ เช่น โรคเบาหวานประเภทที่ 2 โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง หรือโรคข้อเข่าเสื่อม เป็นต้น โดยการดูแลตนเองด้วยการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอร่วมกับการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์อย่างถั่วขาวก็อาจช่วยลดน้ำหนักลงได้ จากการศึกษาโดยให้อาสาสมัครผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกินเล็กน้อยและผู้ที่มีน้ำหนักตัวคงที่มาตลอดอย่างน้อย 6 เดือนจำนวน 82 คน รับประทานอาหารเสริมที่ประกอบด้วยสารสกัดจากถั่วขาวปริมาณ 445 มิลลิกรัม ก่อนรับประทานอาหารมื้อหลักที่มีคาร์โบไฮเดรตสูงเป็นเวลา 30 วัน พบว่าอาสาสมัครมีน้ำหนักตัว ค่าดัชนีมวลกาย มวลไขมันในร่างกาย ความหนาของเนื้อเยื่อไขมันรอบเอว สะโพก และต้นขาลดลง แต่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงของมวลกล้ามเนื้ออย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งนักวิจัยเชื่อว่าประสิทธิภาพในการลดน้ำหนักเป็นผลมาจากสารยับยั้งอะไมเลสของถั่วขาวที่ออกฤทธิ์แทรกแซงการย่อยคาร์โบไฮเดรตและน้ำตาล และยังอาจช่วยลดปริมาณแคลอรี่จากคาร์โบไฮเดรตได้ด้วย
จากบทความ ถั่วขาว ช่วยลดน้ำหนักได้จริงหรือ ? – พบแพทย์ (pobpad.com)