บทความอ้างอิง
1.ขมิ้นกับสรรพคุณทางยา จาก pobpad.com
ขมิ้นหรือขมิ้นชัน เป็นเครื่องเทศที่ใช้อย่างแพร่หลายในอาหารของประเทศแถบเอเชีย โดยเฉพาะอาหารประเภทแกง ด้วยรสชาติและสีสันอันเป็นเอกลักษณ์ มีรสเผ็ดร้อน และขมเล็กน้อย จึงถูกนำไปใช้เป็นเครื่องปรุงรสหรือแต่งสีในผลิตภัณฑ์ประเภทต่าง ๆ และสกัดเป็นน้ำมันหอมระเหย สำหรับส่วนที่เป็นเหง้าหรือรากของต้นนิยมใช้ทำเป็นยารักษาโรค เนื่องจากสารสำคัญสีเหลืองที่ชื่อว่า เคอร์คูมิน (Curcumin) ได้รับการกล่าวอ้างถึงฤทธิ์ในการรักษาและป้องกันโรคได้มากมายตั้งแต่อดีต เช่น โรคปวดข้อ ต้านการอักเสบในร่างกาย บรรเทาอาการท้องเสีย ยับยั้งการติดเชื้อเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไรหรือเอชไพโลไร (Helicobacter Pylori) ท้องอืด ท้องเฟ้อ ลดไขมันในเลือด การอักเสบของผิวหนัง ปวดศีรษะ เป็นต้น
โรคเบาหวาน ผลจากการวิจัยหลายชิ้นชี้ว่าสารเคอร์คูมินที่พบในขมิ้นอาจช่วยลดและควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ซึ่งอาจเป็นประโยชน์ต่อการรักษาโรคเบาหวานหรือป้องกันผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงของโรค จากการศึกษาสรรพคุณของขมิ้นต่อการป้องกันโรคเบาหวาน ชนิดที่ 2 ในผู้ที่มีภาวะเสี่ยงโรคเบาหวาน 240 คน เปรียบเทียบกับยาหลอก เป็นระยะเวลา 9 เดือน หลังจบการทดลองพบว่า กลุ่มที่รับประทานสารเคอร์คูมินตรวจไม่พบผู้ป่วยโรคเบาหวาน ในขณะที่กลุ่มรับประทานยาหลอกวินิจฉัยพบโรคเบาหวานประมาณ 16.4% จึงเชื่อว่าสารเคอร์คูมินในขมิ้นอาจเป็นประโยชน์ต่อการรักษาโรคเบาหวาน แต่ยังไม่มีการระบุประสิทธิภาพในการรักษาที่ชัดเจน ผู้ป่วยโรคเบาหวานหรือมีความเสี่ยงเป็นเบาหวานจึงไม่ควรรับประทานเพื่อวัตถุประสงค์โดยตรงแทนการไปพบแพทย์ จนกว่าจะมีข้อยืนยันทางวิทยาศาสตร์ที่ชัดเจน
ทีมาจาก https://www.pobpad.com/ขมิ้นกับสรรพคุณทางยา
2. สมุนไพรรักษาเบาหวาน ลดน้ำตาลในเลือด Thai Herb
ว่าน หางจระเข้ เป็นสมุนไพรที่มีการใช้มานานนับพันปี ในตำราสมุนไพรที่ชื่อของกรีก รายงานการใช้ว่านหางจระเข้อย่างละเอียดพิสดาร ตั้งแต่การใช้รักษาบาดแผล นอนไม่หลับ กระเพาะอาหารทำงานไม่ปกติ ปวดหัว ผมร่วง โรคเหงือกและฟัน โรคผิวหนังพอง ถูกแดดเผา ผิวด่างดำ ช่วยบำรุงผิวหนัง
ปัจจุบันมีการศึกษาวิจัยประโยชน์ว่านหางจระเข้ทั้งทางยาและเครื่อง สำอาง ในส่วนที่เป็นยานั้นพบว่าช่วยลดน้ำตาลในเลือดทั้งในคนและสัตว์ทดลอง กระตุ้นการเผาผลาญของร่างกาย ดังนั้นจึงเหมาะในผู้ป่วยเบาหวาน
วิธีใช้ รับประทาน เนื้อว่านหางจระเข้สดวันละ 15 กรัม ทุกวัน ติดต่อกันอย่างน้อย 4 สัปดาห์
ที่มา https://thaiherbweb.com/th/articles/7448-สมุนไพรรักษาเบาหวาน-ลดน้ำตาลในเลือด-thai-herb