How to ดูแลสุขภาพในวิกฤต PM 2.5 ด้วยอาหารเสริม
ในช่วงเวลานี้ไม่มีอะไรเป็นภัยร้ายแรงต่อสุขภาพได้เท่ากับมลพิษ PM 2.5 เจ้าฝุ่นตัวกระจิ๋วแต่ผลกระทบไม่เล็กตามขนาดของมัน เจ้าฝุ่นตัวกระจิ๋วนี้มีขนาดตัวเพียงแค่ 2.5 ไมครอน หรือเพียง 1 ใน 25 ของเส้นผม ทำให้แม้กระทั่งขนจมูกของเราเองก็ไม่สามารถกรองเจ้าฝุ่นตัวกระจิ๋วนี้ได้ และเมื่อเจ้าฝุ่นตัวกระจิ๋วแทรกซึมเข้าสู่ร่างกายก็จะกลายเป็นแหล่งสะสมของสารอนุมูลอิสระ เมื่อเข้าสู่ร่างกายก็จะแพร่กระจายสู่ระบบทางเดินหายใจ จากหลอดลมเข้าสู่หลอดเลือด จากนั้นก็จะถูกลำเลียงไปยังอวัยวะต่าง ๆ ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดภาวะอักเสบภายในร่างกาย และเป็นบ่อเกิดสำคัญของสารพัดโรคร้าย
นอกจากนี้ทางกรมอนามัยโลก ได้ระบุไว้ว่า PM 2.5 เป็นสารกลุ่มที่ 1 ที่เป็นสารก่อมะเร็ง เป็น 1 ใน 8 ของสาเหตุที่ทำให้ประชากรเสียชีวิตก่อนวัยอันควร และยังทำให้เสี่ยงต่อโรคเรื้อรัง อย่าง โรคหลอดเลือดสมอง, โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง, โรคติดเชื้อเฉียบพลันในระบบทางเดินหายใจส่วนล่าง, โรคหัวใจขาดเลือด และโรคมะเร็งปอด เป็นต้น นอกจากนี้ทางแพทย์และผู้เชี่ยวชาญจากสมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทยยังได้ระบุว่า เจ้าฝุ่นตัวกระจิ๋วที่มีขนาดเล็กนี้ ยังมีน้ำหนักที่เบาจนสามารถลอยตัวในอากาศได้ และยังสามารถเข้าสู่ร่างกายทางผิวหนังของเราได้โดยตรง และยังมีงานวิจัยถึงผลกระทบของเจ้าฝุ่นตัวกระจิ๋ว PM 2.5 นี้พบว่า เจ้าฝุ่นตัวกระจิ๋วสามารถส่งผลต่อผิวหนังโดยสามารถแบ่งระดับอาการออกได้ 2 ระยะคือ
- ระยะเฉียบพลัน เจ้าฝุ่นตัวกระจิ๋วจะทำลายเซลล์ผิวหนังชั้นกำพร้า ทำให้เกิดการอักเสบ และระคายเคืองกับผิวหนังได้โดยตรง
- ระยะเรื้อรัง เจ้าฝุ่นตัวกระจิ๋วเป็นอนุมูลอิสระที่ส่งผลร้ายต่อเซลล์ผิวหนัง ตั้งแต่กระบวนการสร้างเซลล์ ทำให้เซลล์ผิวเกิดภาวะความชรา จุดด่างดำ และลดการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันที่ผิวหนังอีกด้วย
ด้วยเหตุนี้การป้องกันภัยจากเจ้าฝุ่นตัวกระจิ๋ว PM 2.5 จึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างมากในตอนนี้ โดยมีเคล็ดลับการดูแลสุขภาพง่าย ๆ คือ พยายามอยู่ภายในอาคาร พร้อมเสริมด้วยเครื่องกรองอากาศมาเป็นตัวช่วยในการดักเจ้าฝุ่นตัวกระจิ๋ว และหากมีเหตุจำเป็นที่จะต้องออกนอกบ้าน ก็ควรที่จะหลีกเลี่ยงพื้นที่แออัด อากาศถ่ายเทไม่สะดวก ควรทาโลชั่นหรือครีม ใส่หน้ากากกรองฝุ่น สวมแว่นตา แต่งกายให้มิดชิด และงดการออกกำลังกายกลางแจ้ง เพื่อลดการรับเจ้าฝุ่นตัวกระจิ๋ว PM 2.5 เข้าสู่ร่างกาย นอกจากนี้ยังมีการศึกษาวิจัยอีกว่า มีสารอาหารบางชนิดมีคุณสมบัติที่ช่วยต้านและลดความเป็นพิษของเจ้าฝุ่นตัวกระจิ๋ว PM 2.5 นี้ได้ ได้แก่
- โค เอนไซน์ คิว 10 (CoQ10) เป็นสารคล้ายวิตามินที่มีความสำคัญในการสร้างพลังงานพื้นฐานให้กับเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) ที่มีประสิทธิภาพสูง คอยป้องกันสารอนุมูลอิสระที่จะเข้ามาภายในเซลล์ที่เป็นสาเหตุของโรคภัยต่าง ๆ
- วิตามิน C เป็นวิตามินที่ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ และลดภาวะอาการอักเสบที่อาจเกิดจากเจ้าฝุ่นตัวกระจิ๋ว ดังนั้นแนะนำให้หาอาหารเสริมที่ให้ทั้งวิตามิน C และสารต้านอนุมูลอิสระ อย่างสารสกัดจากเมล็ดองุ่น (Grapeseed) ที่มีปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระในปริมาณที่สูง และยังมี OPC ที่สามารถต่อต้านอนุมูลอิสระได้สูงกว่าวิตามิน C ถึง 20 เท่าและสูงกว่าวิตามิน E 50 เท่า
- เบต้า แคโรทีน มีส่วนช่วยให้การทำงานของปอดกลับมาทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังเป็นสารตั้งต้นของวิตามิน A ที่ช่วยส่งเสริมระบบทางเดินหายใจ และระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ซึ่งสามารถพบได้ในสารสกัดจากมะเขือเทศ (Lycopene) นั่นเอง
- โอเมก้า 3 จากการศึกษาวิจัยทางคลินิกในกลุ่มผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุที่อาศัยในแหล่งที่มีเจ้าฝุ่นตัวกระจิ๋ว PM 2.5 พบว่า การได้รับน้ำมันปลา (Fish Oil) 2 กรัม/วัน ช่วยลดผลเสียต่อสุขภาพของเจ้าฝุ่นตัวกระจิ๋ว PM 2.5ได้ ดังนั้นนอกจากการรับประทานปลาทะเล หรือปลาน้ำจืดแล้ว ลองหาผลิตภัณฑ์อาหารเสริมที่มีคุณภาพมาเป็นตัวช่วยดูแลสุขภาพในช่วงวิกฤติของเจ้าฝุ่นตัวกระจิ๋ว PM 2.5 นี้
ถึงแม้ว่าตอนนี้การศึกษาวิจัยข้อมูลเกี่ยวกับสารอาหารกับเจ้าฝุ่นตัวกระจิ๋ว PM 2.5 ยังไม่ได้มีจำนวนที่มากพอ แต่ก็ยังมีอีกหลายงานวิจัยที่กล่าวถึงสารอาหารเหล่านี้ มีส่วนช่วยในการส่งเสริมสุขภาพร่างกาย โดยเฉพาะระบบภูมิคุ้มกันและเสริมการทำงานของระบบต่าง ๆ ให้กลับมามีประสิทธิภาพ อย่างน้อยก็ทำให้ภายในร่างกายมีความสมดุลแข็งแรงมากเพียงพอ และพร้อมที่จะรับมือต่อภัยเงียบจากเจ้าฝุ่นตัวกระจิ๋วอย่าง PM 2.5 นี้ได้
แหล่งอ้างอิงโดย
- บทความวิชาการ, “ฝุ่น PM 2.5 กับโรคสมอง”, เรืออากาศโท นายแพทย์กีรติกร ว่องไววาณิชย์, อายุรแพทย์สมองและระบบประสาท, ศูนย์สมองและระบบประสาท, โรงพยาบาลกรุงเทพ
- บทความสุขภาพน่ารู้, “ฝุ่น PM 2.5 กับผลกระทบทางผิวหนัง”, แพทย์หญิงจันทร์จิรา สวัสดิพงษ์, ผู้ช่วยผู้อำนวยการด้านการประชาสัมพันธ์องค์กร, สถาบันโรคผิวหนัง, กรมการแพทย์
- ฝุ่นพิษ PM 5 เยียวยาด้วยอาหารรักษ์หัวใจ, ผศ.ดร ฉัตรนภา หัตถโกศล, ภาควิชาโภชนวิทยา, คณะสาธารณสุขศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหิดล
เรียงข้อมูลโดย ไทย เฮลท์ โปรดักส์ (THP)