ที่สุดแห่งสารต้านอนุมูลอิสระที่สูงกว่าวิตามิน ซี 20 เท่า จากสารสกัดเมล็ดองุ่น
ที่สุดแห่งสารต้านอนุมูลอิสระที่สูงกว่าวิตามิน ซี 20 เท่า จากสารสกัดเมล็ดองุ่น
องุ่นเป็นผลไม้ลูกกลม ๆ ที่ทุก ๆ บ้านต้องมียู่บนโต๊ะอาหาร แต่ภายใต้เนื้อหวานแสนอร่อยขององุ่นนั่นจะมีกี่คนที่รู้ว่า เจ้าเมล็ดอองุ่นที่ทุกคนทิ้งกันไปนั้นอุดมไปด้วยคุณประโยชน์ ที่ช่วยเสริมสร้างความงาม และมีคุณประโยชน์กับร่างกายอย่างมาก จนกระทั่งในปี ค.ศ.1970 นักชีวเคมีชาวฝรั่งเศสได้นำเอาเมล็ดองุ่นไปทำการสกัด และในที่สุดก็ได้พบสารสำคัญที่มีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างมากที่มีชื่อว่า “โอลิโกเมอริก โปรแอนโธไซยานิดินส์ (Oligomeric Proanthocyanidins) หรือ OPCs”
OPCs มีคุณสมบัติที่สำคัญในการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระประสิทธิภาพสูง และละลายน้ำได้ดี จึงทำให้มีประสิทธิภาพมากในการปกป้องเซลล์ต่าง ๆ ของร่างกายจากการถูกทำลายจากอนุมูลอิสระ ทั้งยังมีประสิทธิภาพในการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระมากกว่าวิตามิน ซี ถึง 20 เท่า และมากกว่าวิตามิน อี ถึง 50 เท่า 1
ประโยชน์ของ OPCs จากสารสกัดเมล็ดองุ่น
- เป็นสารต้านอนุมูลอิสระชั้นดี ต้านอนุมูลอิสระได้ทุกรูปแบบและจำนวนมาก ถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดภายใน 20-30 นาที จากนั้นจะกระจายไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย และยังคงอยู่ในร่างกายได้นานถึง 72 ชั่วโมง
- บำรุงผิวพรรณ ชะลอไม่ให้ผิวหนังแก่ก่อนวัย และลดแห้งกร้านของผิว ด้วยการเสริมสร้างคอลลาเจนให้เซลล์ชั้นใต้ผิวหนัง
- ช่วยลดริ้วรอย ฝ้า กระให้จางลง โดย OPCs จะช่วยต้านอนุมูลอิสระที่มาทำลายคอลลาเจนอิลาสติน และการผลิตเม็ดสี ที่เป็นสาเหตุทำให้ผิวเสื่อมสภาพ และเกิดริ้วรอยก่อนวัยอันควร
- จากคุณสมบัติยังยั้งเอนไซน์ที่ทำลายคอลลาเจนใต้ผิว ทำให้หลอดเลือดฝอยแข็งแรง จึงทำให้สามารถนำสารอาหารไปเลี้ยงเซลล์ผิวได้ดี
สารสกัดจากเมล็ดองุ่น จึงเป็นสารสกัดจากธรรมชาติ ที่สามารถช่วยให้ผิวมีความยืดหยุ่นได้ดีดูสดใส มีน้ำมีนวล ทั้งยังช่วยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิต ยับยั้งการถูกทำลายของคอลลาเจน ทั้งยังลดปัญหาสำหรับผู้ที่มีสีผิวไม่สม่ำเสมอกันอีกด้วย 2-3
เอกสารอ้างอิง
1. ชณิศา พานิช.ประสิทธิผลของการรับประทานโอพีซีสารสกัดจากเมล็ดองุ่นและวิตามินซีเปรียบเทียบกับวิตามินซีเพียงอย่าง เดียวในการลดริ้วรอยอาสาสมัครเพศหญิงที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง [http://archive.mfu.ac.th/school/anti-aging/File_PDF/Research_PDF54/2.pdf]
2. ธีรพงษ์ ขันทเจริญ , อรพิน เกิดชูชื่น , ณัฎฐา เลาหกุลจิตต์.ประสิทธิภาพการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระจากสารสกัดจากสกัดเปลือกและเมล็ดขององุ่นพันธ์ คาร์ดินัล.วารสาร วิทยาศาสตร์เกษตร.ปีที่ 41 ฉบับที่ 3/1 (พิเศษ) กันยายน – ธันวาคม หน้า 617 – 619
3. ปวีณ ปุณศรี.2504.องุ่น.พิมพ์ครั้งที่ 2.สโมสรพืชสวน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.กรุงเทพฯ.