6 สัญญาณเตือน “กรดไหลย้อน”
- ท้องอืด แน่นท้อง
จะมีอาการคล้าย ๆ กับอาการของโรคกระเพาะอาหาร ซึ่งอาการนี้เกิดได้จากหูรูดของหลอดอาหารไม่สามารถปิดสนิทได้ เวลาที่ต้องมีการบีบตัวของหลอดอาหาร เพื่อที่จะไล่อาหารจากกระเพาะลงไปที่ลำไส้เล็ก ทำให้มีการท้นกลับของอาหารเข้ามาที่หลอดอาหารทั้งบริเวณในช่องท้อง และช่องอก ทำให้มีอาการท้องอืด แน่นท้อง - เรอเปรี้ยว หรือมีน้ำรสเปรี้ยว ๆ หรือขมออกมาทางลำคอ
มักจะมีอาการนี้หลังรับประทานอาหารมื้อหนัก ๆ - กลืนลำบาก หรือกลืนแล้วรู้สึกเจ็บคอ
เกิดจากกรดไหลย้อนไปสัมผัสกับกล้ามเนื้อคอ ทำให้กล้ามเนื้อหดตัว - เจ็บหน้าอก จุกเหมือนมีอะไรติดคอ
เกิดจากกรดไหลย้อนขึ้นมาผ่านหลอดอาหารที่อยู่ในช่องอก และกระตุ้นเส้นประสาทในหลอดอาหาร - แสบร้อนกลางอก
เกิดจากความดันที่ช่องท้องเพิ่มขึ้น ทำให้กรดและอาหารที่อยู่ในกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นมาในหลอดอาหาร ซึ่งอาการแสบร้อนกลางอกจะส่งผลให้หลอดอาหารนั้นเกิดการระคายเคืองได้ - คลื่นไส้ อาเจียน
เกิดจากการไหลท้นกลับของอาหารเข้ามาที่หลอดอาหาร มักจะมีอาการนี้หลังรับประทานอาหารมื้อหนัก ๆ
อย่างไรก็ตามสัญญาณเตือนทั้ง 6 ข้อนี้ เป็นเพียงระยะอาการของโรคกรดไหลย้อนในระยะต้น เพื่อป้องกันไม่ให้โรคทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น วิธีการดูแลเบื้องต้นคือ หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด น้ำส้มสายชู น้ำมะนาว น้ำมะเขือเทศ พริกไทย หลีกเลี่ยงช็อกโกแลต อาหารมัน กาแฟ ชา หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ใส่เสื้อผ้าที่ไม่คับหรือรัดแน่น พยายามนั่งตัวตรง ๆ และลองหา สมุนไพรเพื่อเข้ามาช่วยฟื้นฟู บรรเทาอาการอย่าง ขมิ้นชัน ที่มีสารสำคัญ น้ำมันหอมระเหยและสารกลุ่มเคอร์คูมินอยด์ (curcuminiods) สารสีเหลืองส้ม โดยมีการศึกษาถึงฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของ ขมิ้นชันในการบรรเทาอาการโรคในระบบทางเดินอาหารที่น่าใจหลายการศึกษา เช่น ฤทธิ์ขับลม บรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ การศึกษาในผู้ป่วยที่มีอาการอาหารไม่ย่อย (dyspepsia) พบว่า การรับประทานขมิ้นชันทั้งในรูปแบบของผงขมิ้นชัน ครั้งละ 500 มิลลิกรัม (มีเคอร์คูมินอยด์ 9.6% และน้ำมันหอมระเหย 8%) วันละ 4 ครั้ง ติดต่อกัน 7 วัน หรือขมิ้นชันแคปซูล 250 มิลลิกรัม ครั้งละ 2 แคปซูลวันละ 3 ครั้ง หลังอาหาร หรือสารสกัดขมิ้นชันวันละ 162 มิลลิกรัม นาน 28 วัน สามารถบรรเทาอาการของโรคอาหารไม่ย่อย ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น ลดอาการคลื่นไส้ และไม่สบายท้อง โดยประสิทธิภาพใกล้เคียงกับการได้รับยาขับลม และยารักษาแผลในกระเพาะอาหาร รานิทิดีน (ranitidine) 150 มิลลิกรัม นอกจากนี้ ขมิ้นชันยังมีฤทธิ์ป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร โดยผ่านกลไกกระตุ้นการหลั่งเมือก หรือมิวซิน (mucin) มาเคลือบกระเพาะ ยับยั้งการหลั่งกรดและน้ำย่อยของกระเพาะ และต้านการอักเสบ โดยการศึกษาให้ผู้ป่วยที่มีแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ รับประทาน ขมิ้นชันแคปซูล 600 และ 1,000 มิลลิกรัม/วัน แบ่งรับประทานวันละ 4 ครั้ง ก่อนอาหารและก่อนนอน นาน 12 สัปดาห์ ช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหารได้ใกล้เคียงกับการใช้ยาลดกรด และกลุ่มที่ได้รับ ขมิ้นชันที่แผลหายแล้วจะไม่กลับมาเป็นอีก และการรับประทานผงขมิ้นชันวันละ 1 กรัม หลังมื้ออาหารเช้าเย็น ร่วมกับการรับประทานยาซัลฟาซาลาซีน (sulfasalazine) หรือยาเมซาลาซีน (mesalamine) ซึ่งใช้ใน การรักษาโรคลำไส้อักเสบ จะให้ผลการรักษาดีกว่าใช้ยาแผนปัจจุบันเพียงอย่างเดียว
แหล่งอ้างอิงโดย
- บทความ, ขมิ้นชัน…ขุนพลผู้พิชิตโรคในระบบทางเดินอาหาร, กนกพร อะทะวงษา, สำนักงานข้อมูลสมุนไพร, คณะเภสัชศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหิดล
- บทความ, ดูแลตัวเองอย่างไรในภาวะกรดไหลย้อน, อ.นพ.ปิยะพันธ์ พฤกษพานิช, โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
เรียงข้อมูลโดย ไทย เฮลท์ โปรดักส์ (THP)